งานชิ้นที่ 4


โครงการ   อนุรักษ์พันธุกรรมพืช
กิจกรรม    ( ü )  สนับสนุน   (     )  รอง   (    )  หลัก
มาตรฐาน  สพฐ.  ด้าน   คุณภาพผู้เรียน

1.    หลักการและเหตุผล
                ต้นไม้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อโลกและมนุษย์เป็นอย่างมาก    นั่นคือเป็นปัจจัยสี่ ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์   แต่ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าต้นไม้ถูกทำลายโดยฝีมือมนุษย์จนทำให้เกิดผลกระทบต่อโลกของเรามากมายอาทิเช่น   ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน   น้ำท่วม   และฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล    ซึ่งผลกระทบเหล่านี้จะส่งผลต่อมนุษย์โดยตรง    ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ต้นไม้    พระองค์ทรงได้ก่อตั้งโครงการศึกษาพันธุกรรมพืชขึ้นเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของต้นไม้และพันธุ์พืชต่างๆ   ซึ่งต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีก็ได้สืบสานโครงการนี้ต่อ   และทรงให้มีการบรรจุวิชาพืชพรรณเพื่อชีวิตไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของพืชพรรณ   และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนต่อไป   ซึ่งการถ่ายทอดความรู้นี้ก็สามารถทำได้หลายวิถีทางด้วยกัน โดยสถานศึกษาก็เป็นอีกสถาบันหนึ่งของสังคมที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้และปลูกฝังให้เยาวชนเกิดจิตสำนึกที่ดีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม    สถานศึกษาจึงมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชเพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้และเข้าไปมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในโรงเรียนและท้องถิ่นของตนเอง
                ด้วยเหตุนี้คณะนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจึงเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของพันธุกรรมพืช จึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาในโรงเรียน

2.   วัตถุประสงค์
                2.1   ผลลัพธ์
                                2.1.1   นักเรียนได้รู้จักชื่อต้นไม้และข้อมูลด้านพันธุกรรมพืชภายในโรงเรียนจาก การจัดกิจกรรมพืชพรรณเพื่อชีวิต
                                2.1.2   โรงเรียนมีแฟ้มรวบรวมทะเบียนพันธุ์ไม้ในโรงเรียนเพื่อใช้เป็นแหล่ง ศึกษาหาความรู้ของครู  นักเรียนและผู้ที่สนใจ
                2.2   ผลผลิต
2.2.1   เชิงปริมาณ             
นักเรียนได้รู้จักชื่อต้นไม้และข้อมูลด้านพันธุกรรมพืชภายในโรงเรียนร้อยละ 80 โดยระบุจำนวนพันธุ์ไม้ได้ไม่น้อยกว่า 30 ชนิด                
2.2.2    เชิงคุณภาพ      ข้อมูลเกี่ยวกับด้านพันธุกรรมพืชภายในโรงเรียน  
3.   กิจกรรมและการดำเนินโครงการ
ลำดับที่
กิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
1.
เสนอโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชกับทางโรงเรียน
7 มิถุนายน 2555
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
2.
สำรวจต้นไม้ในโรงเรียน
21-30 มิถุนายน 2555
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
3.
หาข้อมูลเกี่ยวกับพันธุกรรมพืช
1-31 กรกฎาคม 2555
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
4.
จัดทำแฟ้มข้อมูลทะเบียนพันธุ์ไม้ในโรงเรียน
1- 31 สิงหาคม 2555
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
5.
 
จัดกิจกรรมพืชพรรณให้กับนักเรียนโดยการติดป้ายข้อมูลเกี่ยวกับพันธุกรรมตามพืชพรรณในโรงเรียน
20 กันยายน 2555
 
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
 
6.
ประเมินและสรุปผลโครงการ
30 กันยายน 2555
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

4.   งบประมาณ
                เงินงบประมาณ                   1,000     บาท                       
                เงินนอกงบประมาณ            -            บาท
                รวมทั้งสิ้น                             1,000     บาท
5.  ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. นางสาวกัญญารัตน์  ทองคำ
              2. นางสาววิภาวดี  ชูทอง
              3. นางสาวศิริพร  สุวรรณพงค์
4. นางสาวแวรอมือซา  วาเล๊าะ
5. นางสาวญัสมีนีย์  ตาเละ
6. นางสาววราภรณ์  สังข์ทอง
7. นางสาววิลาวรรณ  บุญขวัญ

6.  ระยะเวลา
                7 มิถุนายน 2555- 30 กันยายน 2555

7.  สถานที่ดำเนินการ
                สวนพฤกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  หมู่ที่ 4  ตำบลท่างิ้ว  อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช      
8.   การประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิธีการประเมิน
เครื่องมือประเมิน
ผลผลิต ( output )  ด้านปริมาณ
นับจำนวนชนิดของต้นไม้ในแฟ้มทะเบียนพันธุ์ไม้
แบบสำรวจชื่อต้นไม้
ด้านคุณภาพ
นักเรียนจะได้รู้จักข้อมูลของพันธุกรรมพืชในโรงเรียน เช่น ชื่อวงศ์  ชื่อทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ป้ายข้อมูลของพันธุกรรมพืชในบริเวณโรงเรียน
ผลลัพธ์  ( outcome )  
สำรวจความพึงพอใจและความรู้ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมพืชพรรณเพื่อชีวิตในโรงเรียน
แบบประเมินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

  
 
 
 
 
 
 
 
 



9.   ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1.   โรงเรียนมีแฟ้มรวบรวมทะเบียนพันธุ์ไม้ในโรงเรียน
                2.   นักเรียนได้รับความรู้และรู้จักต้นไม้พร้อมทั้งข้อมูลด้านพันธุกรรมพืชเพิ่มมากขึ้นจากการทำกิจกรรมต้นมีชีวิต
                                                                              
                                                                     ลงชื่อ……………………............ผู้เสนอโครงการ
                                                                                                       (นางสาวกัญญารัตน์  ทองคำ)
                                                                                             ประธานนักศึกษาฝึกประสบการวิชาชีพครู


                                                                                        ลงชื่อ……………………………อาจารย์ที่ปรึกษา
                                                                                                           (อาจารย์อนันต  บุญญะ )          

                                                                                     
                   ลงชื่อ……………………............ผู้อนุมัติโครงการ
                            (นายจำเริญ  คงไกร)
                                                                      ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ผลการจัดกิจกรรม
  1.   โรงเรียนมีแฟ้มรวบรวมทะเบียนพันธุ์ไม้ในโรงเรียน
                2.   นักเรียนได้รับความรู้และรู้จักต้นไม้พร้อมทั้งข้อมูลด้านพันธุกรรมพืชเพิ่มมากขึ้นจากการทำกิจกรรมต้นมีชีวิต
                3. นักเรียนเกิดความสนุกสนานในการทำกิจกรรมต้นมีชีวิต
                4. นักเรียนเกิดความรักและเห็นประโยชน์และคุณค่าของต้นไม้มากขึ้น
                5. นักเรียนเกิดความพึงพอใจและอยากให้จัดกิจกรรมนี้อีก


อนุรักษ์พันธุกรรมพืช

1. ชื่อต้นไม้ …………………………………………………………………………………………….................……
2. ชื่อท้องถิ่น ……………………..……………………………………………………….............................................
3. ชื่อวงศ์ …………………….…………………………………………………………………………...............…….
4. ชื่อสามัญ ………………………………………..…………………………………………………..............……….
5. ชื่อวิทยาศาสตร์ ………………...……………………..…………………………………………..............…………

6. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
7. การปลูกลงดินในแปลงปลูก
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
8. การดูแลรักษา
1.การให้น้ำ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………........................................................................................................................................................................................……………………………
2.การให้ปุ๋ย 
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
9. การขยายพันธุ์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
10. โรคและแมลง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………
10. การตลาด
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
11.การใช้ประโยชน์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

12.ความเชื่อ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………




 


 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น